วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

หลักการใช้This – That / These – Those

หลักการใช้This – That / These – Those



การใช้This – That / These – Those นำไปใช้อย่างไร สามารถทำหน้าที่อะไรได้บ้างในประโยค ลองศึกษากันดูเลยครับ รับรองว่าไม่ยาก ง่ายนิดเดียวเอง

this  ดิส (นี่)
that  แด็ท (นั่น)
these ดีส (เหล่านี้)
those โดส (เหล่านั้น)

1. This และ That (นี่ และ นั่น)
เราจะใช้คำว่า This ในการบ่งบอกถึงสิ่งที่เป็นเอกพจน์ ที่อยู่ใกล้ผู้พูด หรืออยู่ที่ผู้พูด
เช่น This is a pencil. (นี่คือดินสอแท่งหนึ่ง)   แสดงว่าดินสอแท่งนี้จะต้องอยู่ใกล้ผู้พูด หรืออยู่ที่ผู้พูดเลย ในทางตรงกันข้ามกัน  เมื่อเราต้องการพูดถึงสิ่งที่เป็นเอกพจน์ที่อยู่ไกลผู้พูดออกไป เราจะใช้คำว่า
That แทน เช่นThat is a red car. (นั่นคือรถยนต์สีแดงคันหนึ่ง)

โครงสร้าง This / That + นามเอกพจน์
This car is very cheap. รถ คันนี้ ถูก มาก
This black shirt is 100 baht. เสื้อเชิ๊ต สีดำ ตัวนี้ ราคา 100 บาท
This white  house is tall. บ้าน สีขาว หลังนี้ สูง
I don’t like that cat. ฉัน ไม่ชอบ แมว ตัวนั้น
Who is that girl? เด็กหญิง คนนั้น คือ ใคร
She lives in that hut? หล่อน อาศัยอยู่ ใน กระท่อม หลังนั้น

2. These และ Those (พวกนี้ หรือเหล่านี้ และ เหล่านั้น หรือพวกนั้น)
สำหรับการบ่งบอกถึงสิ่งที่เป็นพหูพจน์ หรือสิ่งที่มีจำนวนมากกว่า 1 ขึ้นไป เราจะใช้คำว่า These และ Those แทนเราจะใช้ These ในการบ่งบอกถึงสิ่งที่เป็นพหูพจน์ที่อยู่ใกล้ผู้พูด หรืออยู่ที่ผู้พูด
 เช่น These are my pencils.  (เหล่านี้คือดินสอของฉัน)    และในทำนองเดียวกัน เราจะใช้คำว่า Thoses ในการแทนถึงสิ่งที่เป็นพหูพจน์ที่อยู่ไกลผู้พูด    เช่น Those are the fat dogs. (พวกนั้นเป็นหมาอ้วน)

โครงสร้าง These / Those + นามพหูพจน์
These students are from Japan. นักเรียน เหล่านี้ มา จาก ญี่ปุ่น
These watches are very expensive. นาฬิกา เหล่านี้ แพง มาก
Those men go to work by train. ผู้ชาย เหล่านั้น ไป ทำงาน โดย รถไฟ
Those dogs are playing in the park. สุนัข เหล่านั้น กำลังเล่น ใน สวน
Whose are these books? หนังสือ เหล่านี้ คือ ของใคร
He is looking at those women. เขา กำลังมอง ผู้หญิง เหล่านั้น

ที่มา : https://jasmineisteaching.files.wordpress.com/2014/11/this-that-these-those.jpg

คำศัพท์วันทั้ง7วันภาษาอังกฤษ


คำศัพท์วันทั้ง7วันภาษาอังกฤษ





คำศัพท์ภาษาอังกฤษอ่านออกเสียงว่าคำแปล
Sundayซัน เดย์วันอาทิตย์
Mondayมัน เดย์วันจันทร์
Tuesdayทยูส เดย์วันอังคาร
Wednesdayเวนส เดย์วันพุทธ
Thursdayเธิส เดย์วัน พฤหัสบดี
Friday ไฟร เดย์วันศุกร์
Saturdayแซท เออะ เดย์วันเสาร์
dayเดย์วัน
dateเดทวันที่
yesterdayเยส เทอะ เดย์เมื่อวานนี้
tomorrowทู มอว์ โรวพรุ่งนี้
monthมันซ์เดือน
yearเยียร์ปี
mid yearมิด เยียร์กลางปี
new yearนิวเยียร์ปีใหม่
last yearลาส เยียร์ปีที่แล้ว
ที่มา : http://www.engisfun.com/wp-content/uploads/2012/12/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%A9.png

Pronoun ( คำสรรพนาม )

              

Pronoun ( คำสรรพนาม )



Pronoun ( คำสรรพนาม )  คือคำที่ใช้แทนคำนามหรือคำเสมอนาม ( nouns- equivalent ) เพื่อหลีกเลี่ยงการกล่าวถึงซ้ำซาก หรือแทนสิ่งที่รู้กันอยู่แล้วระหว่างผู้พูด ผู้ฟัง   หรือแทนสิ่งของที่ยังไม่รู้ หรือไม่แน่ใจว่าเป็นอะไร   คำสรรพนาม  (pronouns ) แยกออกเป็น  7 ชนิด คือ
Personal Pronoun ( บุรุษสรรพนาม )  เช่น I, you, we, he , she ,it, they
Possessive Pronoun ( สรรพนามเจ้าของ ) เช่น mine, yours, his, hers, its,theirs, ours
Reflexive Pronouns ( สรรพนามตนเอง ) เป็นคำที่มี - self ลงท้าย  เช่น myself, yourself,ourselves
Definite Pronoun ( หรือ Demonstrative Pronouns สรรพนามเจาะจง )  เช่น  this, that, these, those, one, such, the same
Indefinite Pronoun ( สรรพนามไม่เจาะจง ) เช่น  all, some, any, somebody, something, someone
Interrogative Pronoun ( สรรพนามคำถาม ) เช่น Who, Which, What
Relative pronoun ( สรรพนามเชื่อมความ ) เช่น  who, which, that
1.Personal Pronouns ( บุรุษสรรพนาม )  คือสรรพนามที่ใช้แทนบุคคลหรือสิ่งของในการพูดสนทนา มี 3 บุรุษคือ
บุรุษที่ 1
ได้แก่ตัวผู้พูด
I, we
บุรุษที่ 2
ได้แก่ผู้ฟัง  
you
บุรุษที่ 3
ได้แก่ผู้ ที่พูดถึง สิ่งที่พูดถึง
 he, she. it , they
รูปที่สัมพันธ์กันของคำสรรพนาม
รูปประธาน 
รูปกรรม
Possessive Form
Reflexive Pronoun
Adjective
Pronoun
 I
 me
my
 mine
 myself
we
us
our
ours
ourselves
you
you
your
yours
yourself
he
him
his
his
himself
she
her
her
hers
herself
it
it
its
its
itself
they
them
their
theirs
themselves
เช่น
I saw a boy on the bus. He seemed to recognize me.
ฉันเจอเด็กคนหนึ่งบนรถประจำทาง เขาดูเหมือนจะจำฉันได้  ( He ในประโยคที่สองแทน a boy และ me แทน I  ในประโยคที่หนึ่ง )
My friend and her brother like to swim. They swim whenever they can.
เพื่อนฉันและน้องชายของเธอชอบว่ายน้ำ พวกเขาไปว่ายน้ำทุกครั้งที่มีโอกาส (  they ในประโยคที่สอง แทน My friend และ her brother ในประโยคที่ 1 )
การใช้ Personal Pronouns ที่ทำหน้าที่เป็นประธานและเป็นกรรมมีหลักดังนี้
Personal Pronoun ที่ตามหลังคำกริยาหรือตามหลังบุพบท ( preposition ) ต้องใช้ในรูปกรรม เช่น
Please tell him what you want.   โปรดบอกเขาถึงสิ่งที่คุณต้องการ  ( ตามหลังดำกริยา tell )
Mr. Wilson talked with him about the project.  
คุณวิลสัน พูดกับเขาเกี่ยวกับโครงการ ( ตามหลังบุพบท with )
หมายเหตุ        ถ้ากริยาเป็น verb to be สรรพนามที่ตามหลังจะใช้เป็นประธานหรือเป็นกรรม ให้พิจารณาดูว่า สรรพนามใน ประโยคนั้นอยู่ในรูปผู้กระทำ หรือ ผู้ถูกกระทำ เช่น
It was she who came here yesterday.
เธอคนนึ้ ที่มาเมื่อวานนี้  ( ใช้ she เพราะเป็นผู้กระทำ )
It was her whom you met at the party last night.
เธอคนนี้ที่คุณพบที่งานเลี้ยงเมื่อคืนนี้ (ใช้ her เพราะเป็นกรรมของ   you met )
2. Possessive Pronouns ( สรรพนามเจ้าของ )  คือสรรพนามที่ใช้แทนคำนามเมื่อแสดงความเป็นเจ้าของ ได้แก่คำต่อไปนี้
      mine,ours, yours, his, hers,its,theirs 
The smallest gift is mine. ของขวัญชิ้นที่เล็กที่สุดเป็นของฉัน
This is yours. อันนี้ของคุณ
His is on the kitchen counter. ของเขาอยู่บนเคาน์เตอร์ในครัว
Theirs will be delivered tomorrow. ของพวกเขาจะเอามาส่งพรุ่งนี้
Ours is the green one on the table . ของพวกเราคืออันสีเขียวที่อยู่บนโต๊ะ
possessive pronouns มึความหมายเหมือน    possessive adjectives แต่หลักการใช้ต่างกัน
This is my book.
นี่คือหนังสือของฉัน ( my ในประโยคนี้เป็น possessive adjective ขยาย book )
This book is mine.
หนังสือนี้เป็นของฉัน (  mine ในประโยคนี้เป็น possessive pronoun  ทำหน้าที่เป็นส่วนสมบูรณ์ ( complement)  ของคำกริยา is )
3. Reflexive Pronouns ( สรรพนามตนเอง ) คือสรรพนามที่แสดงตนเอง แสดงการเน้น ย้ำให้เห็นชัดเจน มักเรียกว่า -self form of pronoun  ได้แก่
    myself. yourself, yourselves, himself, herself, ourselves. themselves, itself  มีหลักการใช้ดังนี้
ใช้เพื่อเน้นประธานให้เห็นว่าเป็นผู้กระทำการนั้นๆ ให้วางไว้หลังประธานนั้น  ถ้าต้องการเน้นกรรม (object ) ให้วางหลังกรรม เช่น
She herself doesn't think  she'll get the job.
The film itself wasn't very good but I like the music.
I spoke to Mr.Wilson himself.
วางหลังคำกริยา เมื่อกริยาของประโยคเป็นกริยาที่ทำต่อตัวประธานเอง
They blamed themselves for the accident.
พวกเขาตำหนิตนเองในอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ( ตามหลังกริยา blamed )
You are not yourself today.
วันนี้คุณไม่เป็นตัวของคุณเอง ( ตามหลังกริยา are )
I don't want you to pay for me. I'll pay for myself.
ฉันไม่อยากให้คุณเป็นคนจ่ายเงินให้ ฉันจะจ่ายของฉันเอง
Julia had a great holiday. She enjoyed herself very much.
จูเลียมีวันหยุดที่ดี เธอสนุกมาก
George cut himself while he was shaving this morning.
จอร์จทำมีดบาดตัวเองขณะทีโกนหนวดเมื่อเช้านี้
หมายเหตุ  ปกติ จะใช้  wash/shave/dress โดยไม่มี myself
เมื่อต้องการจะเน้นว่า ประธานเป็นผู้ทำกิจกรรมนั้นเอง
Who repaired your bicycle for you? Nobody, I repaired it myself.
ใครซ่อมรถจักรยานให้คุณ. ไม่มีใครทำให้ฉันซ่อมเอง
I'm not going to do it for you. You can do it yourself.
ฉันจะไม่ทำ( อะไรสักอย่างที่รู้กันอยู่ ) ให้นะ คุณต้องทำเอง
By myself หมายถึงคนเดียว มีความหมายเหมือน  on my own  เช่นเดียวกับคำต่อไปนี้
on ( my/your/his/ her/ its/our/their ) own     มีความหมายเหมือนกับ
by ( myself/yourself ( singular) /himself/ herself/ itself/ ourselves/ yourselves(plural)/ themselves )
เช่น 
I like living on my own/by myself. ฉันชอบใช้ชีวิตอยู่คนเ้ดียว
Did you go on holiday on your own/by yourself? เธอไปเที่ยววันหยุดคนเดียวหรือเปล่า
Learner drivers are not  allowed to drive on their own/ by themselves.
ผู้ที่เรียนขับรถไม่ได้รับอนุญาตให้ขับรถด้วยตัวเองคนเดียว
Jack was sitting on his own/by himself in a corner of the cafe.
แจ๊คนั่งอยู่คนเดียวทีีมุมห้องในคาเฟ
4. Definite Pronouns หรือ Demonstrative Pronouns  คือสรรพนามที่บ่งชี้ชัดเจนว่าใช้แทนสิ่งใด เช่น
 this, that, these, those, one, ones, such, the same, the former, the latter
That is incredible!    นั่นเหลือเชื่อจริงๆ  (อ้างถึงสิ่งที่เห็น)
I will never forget this.   ฉันจะไม่ลืมเรื่องนี้เลย (อ้างถึงประสบการณ์เมื่อเร็วๆนี้)
Such is my belief.  นั่นเป็นสิ่งที่ฉันเชื่อ (อ้างถึงสิ่งที่ได้อธิบายไปก่อนหน้านี้ )
Grace and Jane ar good girls. The former is more beautiful than the latter.
  เกรซและเจนเป็นเด็กดีทั้งคู่ แต่คนแรก (เกรซ)จะสวยกว่าคนหลัง (เจน)
5.Indefinite Pronouns ( สรรพนามไม่เจาะจง ) หมายถึงสรรพนามที่ใช้แทนนามได้ทั่วไป มิได้ชี้เฉพาะเจาะจงว่าแทนคนนั้น คนนี้ เช่น
everyone
everybody
everything
some
each
someone
somebody
all
any
many
anyone
anybody
anything
either
neither
no one
nobody
nothing
none
one
more
most
enough
few
fewer
little
several
more
much
less
Everybody loves somebody. คนทุกคนย่อมมีความรักกับใครสักคน
Is there anyone here by the name of Smith? มีใครที่นีชื่อสมิธบ้าง
One should always look both ways before crossing the street. ใครก็ตามควรจะมองทั้งสองด้านก่อนข้ามถนน
Nobody will believe him. จะไม่มีใครเชื่อเขา
Little is expected. มีการคาดหวังไว้น้อยมาก
We, you, they ซึ่งปกติเป็น personal pronoun จะนำมาใช้เป็น indefinite pronoun เมื่อไม่เจาะจง  โดยมากใช้ในคำบรรยาย คำปราศัย เช่น
We should prepare ourselves to deal with any emergency. เรา ( โดยทั่วไป) ควรจะเตรียมพร้อมไว้เสมอสำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน)
You sometimes don't know what to say in such a situation. บางครั้งพวกคุณก็ไม่รู้ว่าจะพูดอย่างไรในสถานการณ์เช่นนั้น.
6. Interrogative Pronouns ( สรรพนามคำถาม )  เป็นสรรพนามที่แทนนามสำหรับคำถาม ได้แก่  Who, Whom, What, Which และ Whoever, Whomever,Whatever,Whichever   เช่น
Who want to see the dentist first? ใครอยากจะเข้าไปหาหมอฟันเป็นคนแรก? ( who ในที่นี้เป็นประธาน )
Whom do you think we should invite? เธอคิดว่าเราควรจะัเชิญใคร? (  whom ในที่นี้เป็นกรรม - object )
To whom do to wish to speak ? เธออยากจะพูดกับใคร? (  whom ในที่นี้เป็นกรรม - object )
What did she say?  เธอพูดว่าอะไรนะ? (  what เป็นกรรมของกริยา say )
Which is your cat ? แมวของเธอตัวไหน? ( which เป็นประธาน )
Which of these languages do you speak fluently? ภาษาไหนในบรรดาภาษาเหล่านี้ที่คุณพูดได้คล่อง? ( which เป็นกรรมของspeak )
หมายเหตุ   which และ  what  สามารถใช้เป็น  interrogative adjective   และ who, whom , which  สามารถใช้เป็น relative pronoun  ได้
7. Relative Pronouns ( สรรพนามเชื่อมความ ) คือสรรพนามที่ใช้แทนคำนามที่กล่าวมาแล้วในประโยคข้างหน้า   และพร้อมกันนั้นก็ทำหน้าที่เชื่อมประโยคทั้งสอง ให้เป็นประโยคเดียวกัน   เช่นคำต่อไปนี้  who, whom, which whose ,what, that , และindefinite relative pronouns เช่น whoever, whomever,whichever, whatever
Children who (that) play with fire are in great danger of harm.
The book that she wrote was the best-seller
He's the man whose car was stolen last week.
She will tell you what you need to know.
The coach will select whomever he pleases.
Whoever cross this line will win the race.
You may eat whatever you  like at this restaurant


ที่มา : http://writer.dek-d.com/phetalonetolove/story/viewlongc.php?id=567683&chapter=19,8

Auxiliary Verb (กริยาช่วย)


Auxiliary Verb (กริยาช่วย)


Verb ช่วย 24 ตัว มีดังนี้

–    is, am, are, was, were

–    have, has, had

–    do, does, did

–    will, would

–    shall, should

–    can, could

–    may, might

–    must

–    need

–    dare

–    ought to, used to

วิธีการใช้

  1. ถ้าประโยคนั้นมีกริยานุเคราะห์ 24 ตัวนี้ตัวใดตัวหนึ่งปรากฏอยู่ในประโยคแต่เพียงลำพังไม่มีกริยาอื่นเข้ามาร่วมประโยคนั้นกริยานุเคราะห์ทำหน้าที่เป็นกริยาแท้

  2. ถ้าประโยคกริยานุเคราะห์มาร่วมกับกริยาตัวอื่น  มันก็ทำหน้าที่เป็นกริยาช่วยไป ไม่ใช่เป็นกริยาแท้

 

หน้าที่ของ Verb to be

  1. วางไว้หน้ากริยาที่มี ing ทำให้ประโยคนั้นเป็น continuous Tense มีความหมาย แปลว่า กำลัง ทุกครั้งไป

  2.  เมื่อวางไว้หน้ากริยาช่อง 3 (เฉพาะสกรรมกริยา ) ทำให้ประโยคนั้นเป็นกรรมวาจก ( Passive Voice ) มีความหมาย แปลว่า ถูก เป็นเอกลักษณ์

  3. วางไว้หน้ากริยาสภาวมาลา (Infinitive) แปลว่า จะต้อง มีความหมายเป็นอนาคตกาลเพื่อแสดงถึงความจงใจ หรือตั้งใจ

 

 

หน้าที่ของ Verb to do

  1. ช่วยทำประโยคบอกเล่าให้เป็นประโยคคำถาม

  2. ช่วยทำให้ประโยคบอกเล่าเป็นประโยคปฏิเสธ ในกรณีที่ประโยคนั้น Verb to have ไม่มี     Verb to be ไม่อยู่  Verb to do จึงต้องมาช่วยให้เป็นปฏิเสธ

  3. ใช้หนุนกริยาตัวอื่นเพื่อให้เกิดความสำคัญกับกริยาตัวนั้นว่าจะต้องทำเช่นนั้นจริงๆหรือเกิดขึ้นจริงๆโดยให้เรียงไว้หน้ากริยาที่มันไปหนุน

  4. ใช้แทนกริยาตัวอื่นที่อยู่ประโยคเดียวกันเพื่อต้องการมิให้ใช้กริยาตัวเดิมนั้นซ้ำๆซากๆ

  5. Verb to do ถ้านำมาใช้เป็นกริยาแท้แปลว่า ทำ เช่น He does his home work every day. (เขาทำการบ้านของเขาทุกๆวัน)

หน้าที่ของ Verb to have

  1. เรียงไว้หน้ากริยาช่อง3ทำให้ประโยคนั้นเป็น Perfect Tense (สมบูรณ์การ)

  2. ใช้โดยมีกริยาสภาวมาลา ( Infinitive )ตามหลังมีความหมายแปลว่า ต้อง ตลอดไป

  3. ใช้ให้เกิดความหมายเท่ากับเหตุกัตตาประโยค คือประโยคที่ทำให้ผู้อื่นกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้  ในกรณีเช่นนี้ต้องใช้รูปประโยค

             Have + Noun + Verb 3

หน้าที่ของ Will, Shall, Would, Should

Will  ทำหน้าที่ช่วยกริยาตัวอื่นเพื่อให้เป็นอนาคตและใช้กับประธานที่เป็นบุรุษที่ 2-3 และ

นามเอกพจน์หรือพหูพจน์ทั่วไป

Shall ทำหน้าที่ช่วยกริยาตัวอื่นเพื่อให้เป็นอนาคตกาลและใช้กับประธานที่เป็นุรุษที่1 เท่านั้น

Would ใช้เป็นกริยาช่วยดังต่อไปนี้

  1. ใช้เป็นอดีตของ Will ในประโยคที่เปลี่ยนข้อความมาจาก indirect speech

  2. ใช้เป็นกริยาในสำนวนการพูด อยากจะ, อยากให้ ในกรณีเช่นนี้ใช้กับทุกพจน์ทุกบุรุษและมีความหมายเป็นปัจจุบันกาลธรรมดา

  3. ใช้กับสำนวนการพูดว่า ควรจะ…ดีกว่า ควบกับ better หรือ rather ได้กับทุกพจน์ทุกบุรุษ

 Should  แปลว่า ควร หรือควรจะ ถือเป็นปัจจุบันกาลใช้ได้กับทุกตัวประทานซึ่งส่วนมากมักจะใช้แทนought to โดยเฉพาะภาษาพูด

หน้าที่ของ May, Might

May นำมาช่วยดังนี้

  1. เพื่อแสดงความมุ่งหมาย

  2. เพื่อแสดงความปรารถนาหรืออวยพรให้

  3. ช่วยเพื่อแสดงถึงการอนุญาตหรือการขออนุญาต

  4. ช่วยเพื่อแสดงการคาดคะเน

  5. ช่วยเพื่อแสดงความสงสัย

Might นำมาใช้ช่วยดังนี้

1. ใช้เป็นอดีตของ may

2. ใช้ในกรณีที่ผู้พูดไม่แน่นอนใจจะทำหรือไม่ (แต่หากแน่นอนใจให้ไปใช้may แทน )

การใช้ Need, Dare, Ought to, Used to

Need ถ้าเป็นกริยาช่วยแปลว่า จำเป็นต้อง ใช้ได้กับทุกบุรุษและทุกพจน์ ส่วนมากมักจะใช้เป็น      กริยาช่วยในประโยคคำถามและประโยคปฏิเสธเท่านั้นกริยาแท้ที่ตามหลัง Need ไม่ต้องใช้ to นำหน้า

Need ถ้าเป็นกริยาแท้แปลว่า ต้องการและเปลี่ยนรูปไปตามบุรุษ,พจน์,กาล เหมือนกริยาทั่วๆไป

Dare ถ้าเป็นกริยาช่วยแปลว่า กล้าใช้ได้กับทุกบุรุษทุกพจน์และเป็นปัจจุบันกาล Infinitive ที่ตามหลังเป็น Infinitive ที่ไม่มี to

Ought to แปลว่า ควรจะ ตัวนี้เป็นกริยาพิเศษทั่วๆไปกล่าวคือเมื่อเป็นประโยคบอกเล่าก็เรียง ought to ไว้หลังตัวประธานในประโยคและกริยาแท้ที่ตามหลัง ought to ก็ต้องเป็นกริยาช่อง 1ตลอดไปหากเป็นคำถามก็ให้เอาเฉพาะ ought ขึ้นไปวางไว้ต้นประโยคและเมื่อทำเป็นประโยคปฏิเสธก็ให้เติม not ลงข้างหลัง ought

Used to แปลว่า เคย เป็นกริยาพิเศษที่มีความหมายว่า เคยกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดในอดีตเป็นประจำแต่บัดนี้ไม่ได้ทำการนั้นอีกแล้วกริยาที่ตามหลังused to ต้องเป็นกริยาช่อง1 ตลอดไปหากเป็นประโยคบอกเล่าให้เรียงไว้หลังประธาน

เป็นคำถามนำเอา Did ขึ้นไปวางไว้ต้นประโยคและเมื่อทำเป็นประโยคปฏิเสธก็ให้เติม did ก่อนแล้วจึงเติม not ลงไป

ที่มา : https://junn1yengl.wordpress.com

หลักการใช้ประโยค Passive Voice


หลักการใช้ประโยค Passive Voice





Active Voice คือ รูปของกริยาซึ่งประธานเป็นผู้กระทำโดยตรง
              Mary eats a mango. (แมรี่รับประทานมะม่วง)    
       Passive Voice คือ รูปกริยาซึ่งประธานเป็นผู้ถูกกระทำกริยานั้น โดยผู้อื่นหรือสิ่งอื่น
              A mango is eaten by Mary. (มะม่วงถูกรับประธานโดยแมรี่)
        จะเห็นได้ว่า ใจความประโยค Active Voice และ Passive Voice นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน ผิดกันก็ตรงที่ประโยค Active Voice นั้น ประธานเป็นผู้ทำกริยา ส่วน Passive Voice นั้นประธานเป็นผู้ถูกกระทำกริยา
        กริยาที่จะทำเป็นประโยค Passive Voice ได้จะต้องเป็นกริยาที่เรียกว่า Transitive Verb คือกริยาที่ต้องการกรรมมารับ เช่น to love, to catch, to buy, to eat, to see, etc. ส่วน Intransitive Verb ซึ่งหมายถึงกริยาที่ไม่ต้องการกรรมมารับ เช่น to run, to walk, to go, to fly, to awim, etc นั้นจะทำให้เป็น Passive Voice ไม่ได้
    หลักทั่วไปในการเปลี่ยนประโยค Active Voice ให้เป็นประโยค Passive Voice
        1. ให้กลับเอากรรมของประโยค Active Voice ไปเป็นกรรมในประโยค Passive Voice โดยมี preposition "by" นำหน้า
        2. ให้กลับเอากรรมของประโยค Active Voice มาเป็นประธานในประโยค Passive Voice
        3. กริยาของประโยค Active Voice นั้น เมื่อนำมาใช้ในประโยค Passive Voice จะต้องเป็นรูปกริยาช่องที่ 3 (Past Participle) และใช้ตามหลัง verb to be คือ is, am , are, was , were, be, being, been ซึ่งจะใช้ Verb to be ตัวใดนั้นต้องดู tense
  


 อย่างไรก็ดี หลักโดยละเอียดในการเปลี่ยน Active Voice ให้เป็น Passive Voice นั้น ให้ศึกษาจาก
ตารางดังต่อไปนี้
1. ใน tense ต่างๆ
Active Voice
Passive Voice
1. Presente Simple
    - The teacher punishes the boy.
    - Do you always laugh at him?
is , am, are + V3
- The boy is punished by the teacher.
Is he always laughed at by you?
2. Present Continuous
- The painters are painting  our house.
Are the students doing  the exercises?
is, am, are + being + V3
- Our house is being painted   by the painters.
Are   the exercises being done by the students?
3. Present Perfect
- They have built  a new hotel.
- Has  the boy caught a bird?

has, have + been + V3
- A new hotel has been built  by them.
Has a bird been caught by the boy?
* Present Perfect Cintinuous
- Trenton Company has been making bikes since 1960.

has,have + been + being +V3
- Bikes have been being made by Trenton Company since 1960.
4. Past Simple
- My sister wrote  a letter.
Did  the servant polish Tom's shoes?
was , were + V3
- A letter was written  by my sister.
Were Tom's shoes polished by the servant?
5. Past Continuous
- While John was introducing  me, the telephone rang.
Weren't they digging this hole when you went past yesterday?

was , were + being + V3
-While I was being introducing  by John, the telephone rang.
Wasn't this hole being dug  by them when you went past yesterday?
6. Past Perfect
- Theguests had eaten all the food.
Had he seen you before?

had + been + V3- All the food had been eaten by the guests.
Had you been seen  by him before?
* Past Perfect Continuous
- Mr. Trevor had been teaching English in Jamiaca for many years before he moved to Thailand.
had + been + being + V3
- English had been being taught by Mr.Trevor in jamaica for many years before he moved to thailand.
7. Future Simple
- His mother will beat him if he does that again.
Will  Mary invite Jack to her party?

will + be + V3
- He will be beaten by his mother if he does that again.
- Will Jack be invited  by Mary to her party?
8. "going to" future
- They are going to widen  the bridge.
Is she going to open  the shop?

is,am, are +going to + be + V3
- The bridge is going to be widened by them.
- Is the shop going to be opened ?
9. Future Continuous
- They will be mowing  the grass at two o'clock tomorrow.

will be + being + V3
- The grass will be ebing mown at two o'clock tomorrow by them.
10. Future Perfect
- By next March the pupils will have taken  the examination.
- Will she have announced the resutls by the end of next month?
will have + been + V3
- By next March the examination will have been taken  by the pupils.
- Will the results have been announced  by her by the end of next month?
**Future perfect Continuous
- By next year they'll have been building that road for a year.
will have been being + V3
- By next year that raod will have been being built by them for a year.
 2. ใน verb form ต่างๆ คือ
verb form
Active Voice
Passive Voice
Infinitiveto writeto be written
Perfect Infinitiveto have writtento have neen written
Present Participlewritingbeing written
Past Participlewrittenbeen written
คำที่ไม่สามารถทำให้เป็นประโยค Passive Voice ได้ 
      1. Intransitive Verb คือคำกริยาที่ไม่ต้องการกรรม เช่น
                  - They go to school every day.
                  - She swims wuite well. 
        2. Transitive Verb บางคำ เช่น 
                  - Dang had his breakfast.
                   (His breakfast was had by Dang. = wrong)
        3. Verb of Incomplete คือกริยาซึ่งไม่สมบูรณ์ เช่น
                 - She became queen.
                 (A queen was become by her. = wrong)
             (เพราะ queen ในประโยคแรกเป็น complement ไม่ใช่ object) 
ที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/457077